
มะกอกเกลื้อน

ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดกลม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาว ๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักพบขึ้นตามบริเวณป่าไม้ผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง และตามบริเวณป่าหญ้าหรือทุ่งหญ้าทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร

มะกอกเกลื้อน

Canarium subulatum Guillaumin

มะแฟน (BURSERACEAE)

ใช่

1. การเพาะเมล็ด
2. การตอนกิ่ง

เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง

1. ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้ มะกอกเกลื้อนจัดเป็นพืชป่าเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประชาชนสามารถเก็บผลมาขายได้ โดยการนำผลมาดองและแช่อิ่มแทนลูกหนำเลี้ยบรับประทานหรือจะใช้ผลแก่รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกก็ได้
2. เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน ใช้รับประทานได้
3. ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม
4. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้านได้ เช่น หน้าต่าง ประตู กระดาน พื้น ฝา เครื่องมือเครื่องใช้ภายในร่ม ทำก้านและกลัดไม้ขีดไฟ ทำพิณ ฯลฯ (ในปัจจุบันไม้มะกอกเกลื้อนจัดเป็นไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ก.
5. ต้นมะกอกเกลื้อนเป็นไม้โตเร็ว จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้เบิกนำในการปลูกป่า เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งหักง่าย และก่อให้เกิดโพรงเมื่อฝนตกลงมา ทำให้น้ำฝนมาขังอยู่ในโพรงตลอดปี ชาวอีสานจะเรียกโพรงนี้ว่า "สร้างนก" ซึ่งหมายถึงแอ่งน้ำสำหรับนก ที่ทำให้นกมีน้ำกินตลอดทั้งปี นอกจากนี้หมอยาบางท่านยังใช้น้ำที่ได้จาก "สร้างนก" ไปทำเป็นน้ำกระสายยาอีกด้วย

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.