ชันรูจี

ชันรูจีเป็นไม้ต้น สูง 5–25 ม. กิ่งอ่อน ใบอ่อนและช่อดอก มีขนสีสนิมเหล็กปกคลุม เมื่อแก่เกลี้ยง ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบยาว 7–9 ซม. มีใบย่อย 4–6 คู่ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปหอกแกมรูปรี กว้าง 2.5–6 ซม. ยาว 5–18 ซม. ปลายเรียวแหลม หรือค่อยๆ เรียวแหลมไปตั้งแต่กลางใบ โคนกลมเบี้ยว หรือกึ่งรูปหัวใจ ผิวใบมีขนกระจายทั่วไป หรือเฉพาะบนเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบย่อย 8–14 คู่ ก้านใบย่อยยาว 0.3–0.9 ซม. ดอก เล็ก สีขาว หรือชมพู ออกเป็นช่อแยกแขนง ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8–1.4 ซม. มีขนนุ่มสีน้ำตาล มีปีกรูปขอบขนาน กว้าง 0.8 ซม. ยาว 8.5–11 ซม. ปลายมน หรือค่อนข้างแหลม ชันรูจีมีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบและบนเขาหินปูนทางภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50–200 ม.

ชันรูจี(พัทลุง),ช้องลิง(ปัตตานี),ตีนะ(ระนอง),เตยนะ(พังงา),ละแจะ,ล่าแจ๊ะ,ลือเมาะบาบี(มลายู นราธิวาส)

Parishia pubescens . Hook. f.

ANACARDIACEAE

ใช่





กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th