
หัน,เลือดแรด

จัดเป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ด เปลือกด้านนอกเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีชมพู ที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีสะเก็ดเป็นขุยสีน้ำตาล มีเขตการกระจายพันธุ์บริเวณลำธารในป่าดิบชื้น ป่าพรุ ป่าชายหาก และที่ลุ่มน้ำขังทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศจะพบได้ที่ประเทศจีนทางตอนใต้ มาเลเซีย พม่าตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน สุมาตรา

กระเบาเลือด สมิงคำราม เหมือดคน (ภาคเหนือ), ตีนตัง มะเลือด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สีซวง (ภาคกลาง), กาฮั้น กระฮั้น ลาหัน เลือดม้า เลือดแรด หัน หันลัด (ภาคใต้), ชิงชอง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), ตูโมะยอ (มลายู-นราธิวาส), ฮ้วงจือ เป็นต้น

Knema globularia (Lam.) Warb.

MYRISTICACEAE

ใช่



1. เปลือกใช้ดองกับเหล้าเป็นยาชูกำลัง
2.ตำรายาไทยจะใช้น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดเป็นยารักษาโรคผิวหนังและหิด โดยสารที่ออกฤทธิ์คือสาร benzyl benzoate
3. น้ำมันจากเมล็ดใช้ทำเป็นสบู่ยา
4. เนื้อไม้ของต้นหันสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างภายในอาคารของบ้านเรือนได้
5. ผลใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่า (สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง (มัณฑนา นวลเจริญ
ข้อควรระวัง : เมล็ดมีสารทำให้เบื่อเมา ห้ามนำมารับประทาน

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.