
อบเชยไทย,เชียดใหญ่

- ต้นอบเชย : เป็นไม้ยืนต้นสูง 15–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำ ทึบ
- เปลือก : เรียบสีเทาแก่หรือเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคนใบ 3 เส้น
- ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
- ผล : ขนาดเล็ก รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว

ขนุนมะแวง เชียกใหญ่ (ตรัง), จวงดง บริแวง (ระนอง), ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช), สมุลแว้ง พะแว โมง หอม ระแวง (ชลบุรี), มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี), แลงแวง (ปัตตานี), อบเชย (กรุงเทพฯ, อุตรดิตถ์)

Cinnamomum bdjolghota Sweet

LAURACEAE

ใช่

1. การเสียบยอด
2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. การเพาะเมล็ด

- ควรให้น้ำในฤดูแล้ง และคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น
- กำจัดวัชพืชเป็นครั้งคราว
- ควรใช้ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง เช่นกัน ข้อควรระวัง คือหากใช้ปุ๋ยมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อกลิ่นของเปลือกอบเชยได้

- อบเชยเป็นเครื่องยา และเครื่องเทศ ที่ได้จากการขูดเอาเปลือกชั้นนอกออกให้หมด แล้วลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น โดยใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง แล้วรวบรวมนำไปผึ่งที่ร่มสลับกับการนำออกตากแดดประมาณ 5 วัน ขณะตากใช้มือม้วนขอบทั้งสองข้างเข้าหากัน จนเปลือกแห้งจึงมัดรวมกัน เปลือกอบเชยที่ดีจะมีสีน้ำตาลอ่อน(สีสนิม) มีความตรงและบางสม่ำเสมอ ยาวประมาณ 1 เมตร มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย
- ตามตำราไทย น้ำต้มเปลือกต้น ดื่มแก้ตับอักเสบ อาหารไม่ย่อย แก้ท้องเสีย ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ขับพยาธิ มีสรรพคุณบำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ลมอัณฑพฤกษ์ แก้ไข้สันนิบาต ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์แก้ปวดหัว รับประทานแก้เบื่ออาหาร แก้จุกเสียด แน่นท้อง แก้ไอ แก้ไข้หวัด ลำไส้อักเสบ ท้องเสียในเด็ก อาการหวัด ปวดปะจำเดือน แก้อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดประจำเดือน ห้ามเลือด บดเป็นผงโรยแผลกามโรค สมานแผล

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.