สะเดาเทียม

- ต้นสะเดาเทียม : เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ - ใบ : เป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน - ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - ผล : ทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง

ต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)

Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs

MELIACEAE

ใช่

ใช่

- การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า จะขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยใช้เมล็ด ผลสุกที่เก็บมาต้องเอาเนื้อหุ้มเมล็ดออกโดยการแช่น้ำแล้วขยำแล้วนำเมล็ดมาผึ่งลม เมล็ดที่ได้มาควรรีบเพาะเนื่องจากอัตราการงอกจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์ การเพาะเมล็ดอาจทำโดยการหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะเมื่อเมล็ดงอกแล้ว ย้ายลงถุงหลังการเพาะประมาณ 7 วัน

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก - ดิน ดินร่วนปนทราย ซึ่งมีการระบายของน้ำและอากาศดี - ความชื้น ปริมาณน้ำฝน 1,600-2,000 มม. หรือถ้าปริมาณน้ำฝนน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 600-1,400 มม. การปลูกดูแลบำรุงรักษา - การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูกสะเดาเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในพื้นที่ราบและที่ลาดเชิงเขาที่มีดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี และเป็นพันธุ์ไม้ที่กระจายพันธุ์เฉพาะในพื้นที่ทางภาคใต้ดังนั้นภาคใต้จึงเหมาะสมกว่าภาคอื่น พื้นที่ที่เป็นที่ราบควรไดพรวนและยกร่องก่ิอนปลูก - วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสมทางภาคใต้นิยมปลูกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม นิยมปลูก 2 แบบ คือ 1.ขุดหลุมปลูก ขนาดหลุมประมาณ 30x30x30 ซม. วิธีนี้นิยมใช้กับกล้าถุง 2.ใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมนำร่องปลูก โดยนำร่องลึกพอเหมาะกับระดับคอรากของกล้าไม้ วิธีนี้เหมาะกับกล้าเปลือยรากหรือกล้าที่ดอนมาปลูกจะปลูกระยะ 2x2, 2x4 และ 4x4 ม. - โรคและแมลง แมลงที่ทำลายได้แก่ ตัวแมลงกินูน จะกันกินทั้งใบอ่อน และใบแก่ หนอนคืบกินใบสะเดาเทียม จะกินจนใบต้นไม้โกร๋นทั้งแปลง - อัตราการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 8-10 ซม. โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีแรก ค่อนข้างจะโตเร็วมาก

- ดอกอ่อน ใช้รับประทานได้ เนื้อไม้ ใช้ในการ ก่อสร้างและประดิษฐกรรมไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าทำลายของเชื้อราสีน้ำเงินจึงเป็นคุณสมบัติที่เหมาะในการทำเฟอร์นิเจอร์ บานหน้าต่าง วงกบ และไม้แกะสลักดีมาก - การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือก ต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th