ยมหอม

ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 เมตร โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกหนา สี เทาปนดำ แตกเป็นร่องลึก ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อใบยาว 25-70 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 9-13 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ดอก สีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อห้อยลง ยาว 40-50 เซนติเมตร ดอกบานขนาด 3.5-5 มิลลิเมตร มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน กลีบดอก 5 กลีบ ขนาด 3.5-5 มิลลิเมตร ในดอกแยกเพศจะยาวเพียง 1-3 มิลลิเมตร ผล สีน้ำตาลแดง รูปกระสวย กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ออกดอกและติดผลช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลผลแห้งแตกตามยาว ผิวมีแผลระบายอากาศกระจายทั่วไป เมล็ดรูปยาวรี มีปีกสองข้าง ขนาดไม่เท่ากัน

ยมฝักดาบ (ภาคเหนือ) เล้ย (กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) สะเดาดง (กาญจนบุรี) สีเสียด หอม (พิษณุโลก) สีเสียดอ้ม (ไทย)

Toona ciliata M. Roem.

MELIACEAE

ใช่

ใช้วิธีการเพาะเมล็ดเท่านั้น เพราะง่าย สะดวก และได้ปริมาณมาก ด้วยการเก็บเมล็ดจากต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะต้นสูงใหญ่ มีกิ่งน้อย ใบดกหนา ไม่มีรอยโรค รอยแมลงทำลาย

การปลูกควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อลดภาระในเรื่องการให้น้ำ และเพื่อให้ยมหอมปลูกติด และเติบโตได้จนถึงฤดูถัดไป การดูแลรักษายมหอมที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการกัดกินยอดอ่อนของหนอนผีเสื้อที่เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ซึ่งจะออกวางไข่ในเวลากลางคืน พบแพร่ระบาดมากในช่วงต้นฤดูฝนหรือในระยะที่มีการแตกยอดอ่อนของต้นไม้ต่างๆ

- ไม้ใช้สร้างบ้านเรือนและเฟอร์นิเจอร์ ดอกเป็นสีย้อมให้สีเหลืองหรือแดงใช้ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหม – ยางที่ได้จากไม้ยมหอมใช้สำหรับสมานแผล รักษาแผล ห้ามเลือด – ดอก และผลใช้ต้มแก้ไข้ และเป็นยาขับระดู


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th