
นางพญาเสือโคร่ง

ไม้ต้น สูงถึง 30 เมตร. เปลือกต้นด้านในมีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.5 ซม. ยาว 4-12 ซม. ผิวใบด้านล่างมีจุดโปร่งแสง ดอก แยกเพศ ออกเป็นช่อ ช่อดอกเพศผู้ ห้อยลง รูปทรงกระบอก มีดอกย่อยจำนวนมาก สีเหลืองอมเขียว ช่อดอกเพศเมียมีจำนวนดอก 3-5 ดอก ผล แบบเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไข่กลับ ยาว 1.5-2.0 มม. มีขนที่ปลาย มีปีกลักษณะเป็นเยื่อ

กำลังพญาเสือโคร่ง, กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)

Betula alnoides Buch-Ham.

CUPULIFERAE

ใช่

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย

แก่น ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย
ราก ตำพอกแก้ฝี แก้ริดสีดวงลำไส้
ลำต้น แก้โลหิตเป็นพิษในการคลอดบุตร บาดทะยักปากมดลูก และสันนิบาตหน้าเพลิง แก้ปอดพิการ แก้ไอ ดับพิษในข้อในกระดูก เส้นเอ็น แก้พิษตานซาง ขับพยาธิในท้อง แก้กามโรค แก้เถาดานในท้อง แก่น บำรุงโลหิต ดับพิษไข้ แก้กระษัย ไตพิการ ปัสสาวะพิการ
ใบ แก้โรคผิวหนัง ใช้อาบลูกดอก และแก้อัมพาต เปลือกต้น แก่น และใบ รสเฝื่อน ต้มดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กระษัย แก้เหน็บชา แก้เข้าข้อ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.