
ตะแบกเลือด

ต้นตะแบกเลือด : เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูงประมาณ 35 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ลำต้น เปลาตรง เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาล-แดง ขรุขระเป็นปุ่มปมและเปลือกกร่อนหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ เปลือกชั้นในสีชมพู-แดง
- ใบ : เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากแผ่นใบรูปไข่กว้างถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาด 5-9 x 7-15 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบเข้าถึงกลม จุดเด่นที่โคนใบมีต่อม 2 ต่อมชัดเจน ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั้งสองด้าน หลังใบมองเห็นเส้นใบและเส้นใบย่อยชัดเจน
- ดอก : ช่อดอกแบบช่อหางกระรอกออกตามกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีเหลือง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ไม่มีกลีบดอก
- ผล : แห้งมีปีกตามยาวผล 3 ปีก ทรงกลม แข็ง มีขนสีน้ำตาลสั่นนุ่นหนาแน่น มี 1 เมล็ด รูปรี

ตะแบกเลือด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้) โคะกาง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ปราบตำเลีย (เขมร-บุรีรัมย์) เปีย (อุบลราชธานี) เปื๋อยปั่ง เปื๋อยปี เปื๋อยสะแอน (ภาคเหนือ); มะกาเถื่อน (เงี้ยว-ภาคเหนือ) มะเกลือเลือด (ภาคกลาง).

Terminalia corticosa Pierre ex Laness.

COMBRETACEAE

ใช่

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก การขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นมีน้อย

- การปลูกไม้ตะแบกเลือดส่วนใหญ่ปลูกเป็นไม้ประดับ ยังไม่มีการปลูกในรูปของสวนป่าเพื่ออุตสาหกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ชนิดนี้ยังไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจัง

- เปลือกต้น รสฝาด แก้บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง แก้ลงท้อง แก้ปวดท้อง ปิดธาตุ สมานแผล แก้อุจจาระธาตุพิการ
- เนื้อไม้และแก่น รสขมปร่า แก้โรคโลหิตจาง ขับระดู แก้กระษัย บำรุงกำลัง แก้ธาตุพิการ
- เนื้อไม้แข็งมาก สีน้ำตาลเข้ม ขัดชักเงาได้ยากใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ที่ต้องการความแข็งแรง อาทิ คานและไม้กระดาน

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.