ช้างนาว

- ต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูงได้ถึง 12 เมตร กิ่งก้านแผ่ขยายออก ลำต้นมักคดงอ เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องลึก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม - ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 12-17 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม พบบ้างที่ปลายมน โคนแหลมหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ ผิวใบเรียบ ใบแก่เขียวหม่น เหนียวเหมือนแผ่นหนัง ช่อดอก แบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ซอกใบและใกล้ปลายกิ่งที่ไม่มีใบ มักออกดอกพร้อมแตกใบใหม่ แต่ละช่อมี 4-8 ดอก กลีบดอกสีเหลืองสด เวลาบานมักมีสีเหลืองทั้งต้น ช่อยาว 3.5-6 เซนติเมตร ดอกจำนวนมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4.5 เซนติเมตร ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5-8 กลีบ สีเหลืองสด กลีบบอบบาง หลุดร่วงง่าย ฐานกลีบแคบ กลีบรูปไข่กลับ - ผล เป็นผลสด ค่อนข้างกลม กว้าง 8-9 มิลลิเมตร ยาว 1-1.2 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ผิวมัน - เมล็ด มี 1 เมล็ด ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งขนาดใหญ่ มีเนื้อบางๆ หุ้ม ออกดอกและเป็นผล ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน

กระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

Ochna integerrima (Lour.) Merr.

OCHNACEAE

ใช่

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

- ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดหลัง ปวดเอว - แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้ประดง บำรุงร่างกาย - ต้น ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย - ราก ขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย บำรุงกำลัง ต้มน้ำดื่มแก้ผิดสำแดง แก้ปวดหลัง แก้เบาหวาน - ผล เป็นยาบำรุงร่างกาย - เปลือกต้น เป็นยาแก้ไข้ ขับผายลม บำรุงหัวใจ - เปลือกนอก บดเป็นผง มีสีเหลืองสด ทาแก้สิวฝ้า เนื้อไม้ แก้กระษัย ดับพิษร้อน แก้โลหิตพิการ


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th