
สนสามใบ

- ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 10 - 30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
- เปลือก สีน้ำตาล อมชมพูอ่อน แตกสะเก็ดขนาดใหญ่ มักมียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก
- ใบ ใบเดี่ยวออกติดเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ใบ รูปเข็ม ยาว 10 - 25 เซนติเมตร
- ดอก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน
- ผล ออกรวมกันเป็นกลุ่ม รูปไข่ สีน้ำตาล กว้าง ประมาณ 5 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร เมล็ดขนาดเล็กมีปีก

เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แปก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน-เพชรบูรณ์), สนเขา สนสามใบ (ภาคกลาง)

Pinus kesiya Royle ex Gordon.

PINACEAE

ใช่

โดยการเพาะเมล็ด นำเมล็ดแช่น้ำไว้เป็นเวลา 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ

ดินร่วน ดินร่วนปนทราย

- ไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเยื่อกระดาษ ยางกลั่นเป็นน้ำมันและชัน น้ำมันใช้ผสมยาทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย ทำน้ำมันชักเงา ชันใช้ผสมยารักษาโรค
- แก่น รสเผ็ดขมฝาดมัน ต้มหรือฝนรับประทาน แก้ไข้เพื่อเสมหะ กระจายลม ระงับประสาท แก้ฟุ้งซ่าน แก้อ่อนเพลีย แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงไขข้อ ไขกระดูก และแก้ท้องเดิน
- กระพี้ รสขมเผ็ดมัน ต้มเอาน้ำดื่มแก้ไข้สันนิบาต
- น้ำมัน รสร้อน ใช้ผสมยาทาแก้เคล็ดขัดยอก อักเสบบวม หยดลงน้ำร้อนประคบท้องแก้บวม แก้ลำไส้พิการ แก้มดลูกอักเสบ
- ชัน หรือ ยางสน รสฝาดมันร้อน สมานแผล แก้บิด ปิดธาตุ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.