สีเสียดแก่น

- ไม้ต้น : ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร ไม่ผลัดใบ - เปลือก : สีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดบาง เรือนยอดเป็น รูปกรวย ต่ำ ๆ ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งเป็นตะขอ เป็นคู่ อยู่ทั่วไป - ใบ : ประกอบรูปขนนก 2 ชั้น มีก้านแขนง 10 - 20 คู่ ใบย่อยขนาดเล็กมากเรียงกันอยู่แน่นประมาณก้านละ 30 - 50 คู่ ปลายใบมน โคนใบมนและเบี้ยว - ดอก : ดอกเล็กออก เป็นช่อแบบหางกระรอก สีเหลืองกลิ่นหอมอ่อน ๆ ยาวประมาณ 10 - 12 เซนติเมตร - ผล : เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็นสองซีก เมล็ด 3 - 7 เมล็ด

สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)

Acacia catechu Willd.

LEGUMINOSAE

ใช่

โดยการเพาะเมล็ด

เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง

- เนื้อไม้แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ไสกบตบแต่งยาก ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น เสา ตง คาน สะพาน ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร - แก่นให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนังและให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แห อวน ก้อนสีเสียดเป็นยาสมานอย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ ใช้เป็นยารักษาเหงือก ลิ้นและฟัน รักษา แผลในลำคอ


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th