
เคี่ยม

- ต้นเคี่ยม : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง
- เปลือก : เรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
- ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก
- ดอก : สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
- ผล : เป็นผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่

เคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้)

Cotylelobium melanoxylon Pierre

DIPTEROCARPACEAE

ใช่

- การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า โดยการเพาะเมล็ดไม้เคี่ยมมีปีก 2 ปี ขนาดใกล้เคียงกับไม้ตะเคียนทอง จะสูญเสียความมีชีวิตง่ายและสั้นประมาณ 30 วัน ควรเก็บเมล็ดแก่จากบนต้นแม่มาทำการเพาะ เมล็ดที่เก็บมาในช่วง 6-15 วัน จะให้ผลการงอกสูงสุด

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก -
- ดิน ดินร่วน-ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.2-4.5
- ความชื้น ชื้นสูง
- แสง ชอบแสง แต่ในระยะแรกของการปลูกปี 1-2 ต้องการแสงประมาณ 70-75%
การปลูกดูแลบำรุงรักษา -
- การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ตามธรรมชาติจะพบขึ้นอยู่เป็นกลุ่มๆ ตามเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเล 10-100 ม. ชอบดินร่วนปนทรายที่มีการระบายดี มีค่าความเป็นกรด-ด่าง 4.2-4.5 การเตรียมพื้นที่ปลูกต้องการความละเอียด มีการไถพรวน ในช่วงปี 1-2 ของการปลูก อาจให้ร่มเงาแก่กล้าไม้ที่ปลูก โดยใช้วิธีปลูกพืชเกษตรควบหรือปลูกไม้โตเร็วพืชตระกูลให้ร่มเงา
- วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ขนาดของกล้าที่เหมาะสมในการปลูก ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากกล้าไม้ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี จะมีเปอร์เซนต์การรอดตายต่ำมาก ขนาดของหลุมในการปลูก 30x30x30-50x50x50 ซม.3 มีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์รองก้นหลุม ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกเริ่มแรกควรปลูกระยะ 4x4, 5x5, 6x6 และ 8x8 เมตร และมีการตัดสางขยายรยะตามเวลาที่สมควร โดยมีระยะปลูกครั้งสุดท้ายเป็น 10x10 หรือ 12x12 หรือ 16x16 เมตร
- อัตราการเจริญเติบโต ช้า-ค่อนข้างช้า ในช่วงอายุ 1-3 ปี หลังจากปลูกจะมีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงค่อนข้างช้า แต่หลังจากอายุ 3 ปีขึ้นไป อัตราการเจริญเติบโตจะมีการเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นจากตารางที่ 1 แสดงไว้ในตารางข้างล่าง

- การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ เนื้อไม้สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอ่อน ทิ้งไว้นานเป็นสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลแก่เกือบดำ เสี้ยนค่อนข้างสน เนื้อละเอียด แข็ง เหนียวหนักและแข็งแรงมาก เลื่อยไสกบตบแต่งไม่ยาก ใช้ในน้ำได้ทนทานดี ไม้สดจะบิดและแตกง่าย เนื้อไม้มีความถ่วงจำเพาะ 0.98 มีความแข็งประมาณ 992 กก. ความแข็งแรงประมาณ 1,489 กก./ซม2 และความเหนียว 4.01 กก.-ม3 เหมาะใช้ทำไม้พื้น เสาเรือน รอด ตง อกไก่ และเครื่องบนที่ต้องการความทนทานและแข็งแรง และเสาโป๊ะ เสาเรือใบ ทำไม้หมอนรถไฟ ทำกระดานพื้นและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ต้องตากแดดตากฝน รวมทั้งทำลูกประสัก เรือเดินทะเล แจวพาย กรรเชียง ครก สาก กระเดื่อง ทำล้อเกวียน ตัวถังรถ ด้ามเครื่องมือฯ การเลื่อยตบแต่งควรทำในขณะที่ยังสดอยู่ นอกจากนี้เปลือกใช้ทุบผสมกับชันใช้ยาเรือ ชันเคียมใช้ผสมนำมันทาไม้ นำมันขัดเงา
- การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร เปลือกใช้เป็นยาชะล้างบาดแผล ห้ามเลือด บาดแผลสด และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Cztechol ชันใช้เป็นยาสมานแผลและแก้ท้องร่วง

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.