หว้า

- ต้นหว้า : เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10-35 เมตร ลำต้่นเปลาตรง - เปลือกต้น : ค่อนข้างเรียบสีเทาอ่อน มีกิ่งก้านมาก แข็งแรง ปลายกิ่งห้อยย้อยลง - ใบ : ดกหนา ทำให้เป็นทรงพุ่มรูปไข่แน่นทึบ ใบอ่อนจะแตกสีแดงเรื่อ ๆ ใบแก่หนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ เรียงตรงข้าม รูปใบรีหรือรูปไข่กลับ เกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบละเอียดอ่อนและเรียงขนานกัน มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ - ดอก : เป็นดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบหรือปลายยอด กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสี่กลีบ กลีบดอกสี่กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน - ผล : ผลอ่อนสีเขียว พอเริ่งแก่ออกสีชมพู สีม่วงแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปกระสวย สีม่วงแดง ฉ่ำน้ำ ผิวเรียบมัน ใช้กินได้มีรสเปรี้ยว ผลแก่ราวเดือน พฤษภาคม มีเมล็ด 1 เมล็ด รูปไข่ ต้นหว้า มีถิ่นกำเนิดจากเอเชียเขตร้อนจากจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร

หว้า หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพ

Syzygium cumini (Linn.) Skeets

MYRTACEAE

ใช่

ใช่

1. โดยการเพาะเมล็ด 2. การตอนกิ่ง

ดิน: ชอบดินร่วน แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง

- ผลและยอดมีรสหวานอมเปรี้ยวปนฝาด - ด้านสมุนไพร เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกใช้ทำน้ำผลไม้และไวน์ แก้ท้องร่วงและบิดได้ - เมล็ดมีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th