
ตะกู

จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบหรือไม่ผลัดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-30 เมตร บางครั้งมีพูพอน ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งโน้มลง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแก่ แตกเป็นร่องตามยาว มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ตั้งแต่ประเทศเนปาล บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง หรือตามหุบเขาหรือริมลำธารที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,500 เมตร

กระทุ่ม กระทุ่มบก (กรุงเทพ) , ตุ้มหลวง ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว (ภาคเหนือ ), ปะแด๊ะ เปอแด๊ะ สะพรั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , ตุ้มพราย ทุ่มพราย (ขอนเเก่น) , ตะกู (สุโขทัย จันทบุรี นครศรีธรรมราช ) , แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่ (ภาคตะวันออก) , ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน (ภาคตะวันออก)

Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.

RUBIACEAE

ใช่

1. การเพาะเมล็ด
2. การติดตา

จะเจริญเติบโตได้ดีในดินลึก เเละมีความชื้นสูง ตั้งเเต่ที่ราบริมทะเลจนถึงระดับความสูง 1000 เมตร เเละมีปริมาณน้ำฝน 1000-5000 มิลลิเมตร/ปี

- นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด ทำไม้กระดาน เสาบ้าน ประตู หน้าต่าง วงกบ ทำเรือขุด เพราะว่าต้นไม้มีขนาดใหญ่ มีเนื้อไม้ที่ละเอียด มีน้ำหนักเบากว่าไม้ประดู่หรือไม้มะค่า น้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักและนำไปทำกลอง ด้ามปืน และคุณสมบัติพิเศษของต้นตะกูอีกอย่าง คือ ปลวกหรือมอดไม่กินเหมือนไม้สัก
- ตะกูมีเนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และงานประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่ามากมาย เนื่องจากไม้ตะกูถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั่วโลก นิยมปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการใช้สอยและปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือไม้เศรษฐกิจ ในประเทศทางแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
- การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.