ประดู่บ้าน

- ต้นประดู่บ้าน : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร - เปลือก : ต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ - ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ - ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน - ผล : เป็นรูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน

ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย (ภาคกลาง), สะโน (มลายู-นราธิวาส), ประดู่ไทย (ภาคกลาง), ประดู่กิ่งอ่อน (ทั่วไป)

Pterocarpus indicus Willd.

LEGUMINOSAE

ใช่

ใช่

1. การเพาะเมล็ด 2. การปักชำกิ่ง

- เจริญเติบโตได้ดีในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติเขตร้อน สามารถขึ้นได้ตามไหล่เขา ที่ราบ ยอดเขาเตี้ย ๆ ใกล้บริเวณแหล่งน้ำที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร - ชอบดินร่วนปนทราย ดินตะกอน หรือดินที่เกิดจากภูเขาไฟ มีความลึก และระบายน้ำได้ดี

- เนื้อไม้ ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล - ใบอ่อนใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว แก้ผดผื่นคัน ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย - เนื้อไม้ประดู่นำไปใช้ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานสูง เนื้อไม้มีสีสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตบแต่งชักเงาได้ดี ตลอดจนการทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนไม้ขนาดเล็กใช้ทำไม้ปาร์เก้ ไม้ประสานแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นไม้ชุบซีเมนต์ได้ฟืนและถ่าน - เปลือกไม้ประดู่ใช้ย้อมผ้าได้และให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังแก่นให้สีดำคล้ำใช้ย้อมผ้า - ประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์ ประดู่เป็นไม้เรือนยอดกลมโต แข็งแรงจะช่วยป้องกันลมและคลุมดิน ให้ร่มเย็นชุ่มชื้นและรองรับน้ำฝนลดแรงปะทะหน้าดินน้อยลงประกอบกับระบบรากหยั่งลึกแผ่กว้าง เช่นเดียวกับเรือนยอด จะช่วยยึดดินไม้ให้พังทลายได้ง่ายและรากมีปมใหญ่ ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในรูปไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย ใบหนาแน่นเมื่อร่วงหล่นผุพัง เพิ่มธาตุอาหารอินทรียวัตถุแก่ดินอย่างมาก


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th