พญาสัตบรรณ

- ต้นพญาสัตบรรณ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาดำ มียางสีขาว - ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆ ข้อ แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย เส้นใบถี่ขนานกัน - ดอก : ออกดอกเป็นกระจุกช่อใหญ่สีขาวที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกออกซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ 2–3 ชั้น กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก มีขนสีขาวอมเหลืองนวล กลิ่นหอม - ผล : เป็นฝักยาวเหมือนถั่วฝักยาว เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดเป็นรูปขนานแบนๆ

กะโนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ชบา ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา ปูแล ปูลา (มลายู-ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง), สัตตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี) หัสบัน (กาญจนบุรี)

Alstonia scholaris R. Br.

APOCYNACEAE

ใช่

ใช่

1. การเพาะเมล็ด 2. การปักชำ

แสง : ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง ดิน : ชอบดินร่วนซุย ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง โรคและศัตรู : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี

1. พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธี (Allelopathy) สารสกัดจากใบพญาสัตบรรณสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นคะน้า ส่วนสารสกัดจากเปลือกของลำต้นก็จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของข้าวโพด ข้าว ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมัน และคะน้าได้ 2. เนื้อไม้สามารถนำไปทำทุ่นของแหและอวนได้ (ในบอร์เนียว) 3. เนื้อไม้หยาบ อ่อน แต่เหนียว สามารถใช้ทำหีบใส่ของ หีบศพ ทำโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีดของเล่นสำหรับเด็ก รองเท้าไม้ หรือไม้จิ้มฟันได้ 4. เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน หรือนำใช้ทำโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน เป็นต้น 5. สารสกัดจากน้ำมันหอมระเหยของดอกพญาสัตบรรณสามารถใช้ไล่ยุงได้ 6. ต้นพญาสัตบรรณนอกจากจะปลูกไว้เพื่อให้ร่มเงาแล้ว ยังเป็นไม้มงคลนามที่นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย 7. ต้นพญาสัตบรรณจัดเป็นไม้มงคลนาม ปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ที่บ้านจะทำให้มีเกียรติยศ จะทำให้ได้รับการยกย่องและการนับถือจากบุคคลทั่วไป ซึ่งความหมายของต้นก็มาจากคำว่าพญา ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ ส่วนคำว่า สัต ก็มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรมนั่นเอง และตามความเชื่อจะนิยมปลูกต้นพญาสัตบรรณไว้ทางทิศเหนือและผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ แต่ถ้าอยากให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นไปอีก ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th