เคี่ยมคะนอง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงราว ๒๐-๓๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูหนาๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง แบบรูปร่ม ออกสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนยาวสีน้ำตาลแดงอมขมพู เปลือกสีน้ำตาลแก่ หรือน้ำตาลปนเทาอ่อน แตกเป็นร่อง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามยาวลำต้น และมีน้ำยางใสๆ สีเหลืองซึมออกมา เปลือกในสีส้มหรือเหลืองอ่อน หูใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนมน ปลายสอบเรียว ใบอ่อนมีขนนนุ่มทางด้านท้องใบ ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง บางทีออกสีชมพูอื่นๆ ก้านใบมีขนนุ่มหรือเกือบ ดอกสีขาว โตเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. ผลเล็ก ปลายเป็นติ่งเรียวแหลม มีปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก ก้านผลสั้นมาก

เคี่ยมคะนอง, เคี่ยม (นครราชสีมา,ปราจีนบุรี), เคียนทราย (ประจวบคีรีขันธ์, ภาคใต้), ชันรุ่ง สยา สายา (สงขลา), เชื่อม (สระบุรี, นครราชสีมา), พนอง (ชลบุรี)

Shorea henryana Pierre

DIPTEROCARPACAE

ใช่

การเพาะเมล็ด

ดิน ดินร่วน-ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.2-4.5 ความชื้น ชื้นสูง แสง ชอบแสง แต่ในระยะแรกของการปลูกปี 1-2 ต้องการแสงประมาณ 70-75%

ไม้ ใช้ทำแบบพิมพ์หล่อคอนกรีต ลังใส่ของ ต่อเรือ ทำแจว พาย และใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ทำตัวถังเกวียน มีลักษณะคล้ายกระบาก ควรใช้แทนกันได้ และใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม กษัย เปลือก ต้มชะล้างบาดแผลเรื้อรัง ต้มกับเกลืออมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th