
ตะเคียนทอง

- ต้นตะเคียนทอง : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 20 - 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์
- เปลือก : หนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง
- ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกหรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน
- ดอก : ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม
- ผล รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย

ตะเคียน ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง) จูเค้ โซเก (กาญจนบุรี) จะเคียน (ภาคเหนือ) แคน (ภาคอีสาน) กะกี้ โกกี้ (เชียงใหม่) ไพร (เชียงใหม่)

Hopea odorata Roxb.

DIPTEROCARPACEAE

ใช่

การผลิตกล้าจากเมล็ด

จากธรรมชาติของไม้ตะเคียนทอง มักจะพบขึ้นอยู่ใบป่าดงดิบตามที่ราบหรือค่อนข้างราบใกล้ฝั่งแม่น้ำ ดังนั้นพื้นที่ที่จะปลูกไม้ตะเคียนทองนั้น สภาพภูมิอากาศที่เหมาะ สม ควรมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำดี

ใช้ต้มกับเกลืออมป้องกันฟันหลุดเนื่องจากกินยาเข้าปรอทและต้มกับน้ำชะล้างบาดแผลเรื้อรัง, แก่นใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลมกษัย, ดอกเข้าอยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปดใช้ผสมยาทิพย์เกสร, ยางใช้ผสมน้ำมันทารักษาบาดแผล, ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือและทำน้ำมันชักเงา

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.