แต้ว

เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก พบมากในป่าเบญจพรรณแถบภาคอีสานมี 2 พันธุ์ คือ ดอกสีขาว กับ ดอกสีชมพูซึ่งพันธุ์ดอกสีชมพูนั้นมักจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆใบจะมีขนนุ่มๆ ขมกว่าชนิดดอกสีขาวเล็กน้อยเรือนยอดมักเป็นพุ่มกลมเปลือกต้นสีน้ำตาล อมเทา เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดร่องๆถ้ามีแผลจะมียางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาใบรูปไข่กลับรีๆ ยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร ต้นแต้วเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา ใบมนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาด กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบโตออกปลายสุดสอบเข้านื้อบางหลังใบมีขนสองท้องใบมีขนนุ่ม หนาแน่น ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นดอก ผลรูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล

แต้ว

Cratoxylum maingayi Dyer.

HTPERICACEAE

ใช่

1. การเพาะเมล็ด 2. การตอนกิ่ง

ต้องมีการเด็ดยอดเเละให้น้ำเป็นประจำ เพราะจะทำให้มันเเตกยอดอ่อนตลอดทั้งปี

ชาวไทยภาคกลางและชาวอีสานรับประทานผักแต้วเป็นผักโดยที่ชาวไทยภาคกลางรับประทานยอดแต้วอ่อน เป็นผักสดดอกแต้วมีรสเปรี้ยวนิดๆ ชาวอีสาน รับประทานยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกเป็นผักสดยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักที่ชาวอีสานนิยมรับประทานมากชนิดหนึ่งและมีจำหน่ายในท้องตลาดของท้องถิ่นอีสาน ไม้เอาเผาถ่านให้ความร้อนดี ไม้ทำเสาทำด้ามเครื่องมือ น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้า


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th