
ประดู่ป่า

- ต้นประดู่ป่า : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
- ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน
- ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม
- ผล : แผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป

จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)

Pterocarpus macrocarpus Kurz

PAPILLIONACEAE

ใช่

ใช่

1. การเพาะเมล็ด
2. การเสียบยอด
3. การทาบกิ่ง
4. การตอนกิ่ง

1. การกำจัดวัชพืช ควรทำในฤดุการเจริญเติบโตของกล้าไม้หลังจากได้รับน้ำฝนเต็มที่ เพื่อให้กล้าไม้พ้นจากการแก่งแย่งของวัชพืช ถ้าวัชพืชปกคลุมกล้าหนาแน่น จะทำทั่วทั้งพื้นที่ด้วยเครื่องจักรและแรงคน และถ้าวัชพืชไม่หนาแน่นมากนัก จะใช้วิธีถางเป็นวงกลม รอบต้นอักวิธีหนึ่งคือการถางระหว่างแนวปลูกโดยเครื่องจักรกล ระยะปลูกไม่ควรต่ำกว่า 2 X 4 เมตร เพื่อความสะดวกของเครื่องจักรกลเข้าไทำงาน การกำจัดวัชพืชครั้งต่อไป ควรกระทำก่อนถึงฤดูแล้งเพื่อป้องกันไฟและลดเชื้อเพลิง ความถี่ของการกำจัดวัชพืชจะขึ้นอยู่กับชนิดวัชพืช วิธีการเตรียมพื้นที่ ชนิดไม้ที่ปลูกและงบประมาณดำเนินการไม้ประดู่ควรทำ 2-3 ครั้ง หลังปลูกก็พอ
2. การปลูกซ่อม หลังการปลูกควรติดตามว่า มีกล้าไม้ตายมากน้อยเพียงใด แล้วรีบปลูกซ่อมให้เต็มพื้นที่ และควรทำหลังจากการถางวัชพืชครั้งแรก เพื่อให้กล้าปลูกใหม่เจริญเติบโตสม่ำเสมอ กับกล้าปลูกครั้งแรก
3. การให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของกล้าปลูกใหม่ให้พ้นจากวัชพืช โดยเร็วและเป็น การเพิ่มผลผลิตไม้ในสวนป่าด้วย ถ้าพื้นที่ดินไม่ดีปุ๋ยสูตรเสมอ 15:15:15 จะช่วยให้ไม้ประดู่มีอัตราการรอดตาย และการเจริญเติบโตทั้งความสูงที่ดีกว่าถ้าไม่ใส่ปุ๋ยหรือใส่ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารในธาตุหนึ่งไม่ครบ วิธีการใส่ปุ๋ยจะทำหลังปลูก 1 เดือน ในปริมาณ 50 กรัม ต่อต้น (1 ช้อนแกง) ใส่ดินลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้น 30 เซนติเมตร จะช่วยการเจริญเติบโตของไม้ประดู่หลังปลูกได้ดี
4. การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 10-15 เมตร รอบแปลงสวนป่า เพื่อป้องกันทั้งไฟภายนอกหรือจากการเผาไร่ไม่ให้ลุกลามเข้ามา ถ้ามีการกำจัดวัชพืชดีจะช่วยลดปัญหาไฟเป็นอย่างดีหากมีการตัดถนนเมื่อเริ่มปลูกป่าก็จะ ใช้เป็นทางตรวจการและแนวกันไฟไปใน ตัวด้วย แต่ถ้ามีการปลูกสวนป่า ผืนใหญ่ก็ อาจจะทำแนวกันไฟภายในแบ่งเป็นแปลง ย่อย ๆ เพิ่มขึ้น
5.การป้องกันโรคแมลงและสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันการปลูกประดู่ ยังไม่พบความเสียหายที่เกิดจากโรคแมลง การป้องกันโดยทั่วไปจะทำความสะอาดสวน และกำจัดวัชพืช หรืออีกวิธีหนึ่งจะปลูกพันธุ์ไม้หลายชนิดในสวนป่า ส่วนสัตว์กัดแทะจะป้องกันโดยใช้ยาเบื่อหรือกับดัก และถ้ามีสัตว์เลี้ยงเข้ามาทำลายต้นไม้ที่ปลูกก็จะต้องลงทุนทำรั้วรอบสวนป่าเมื่อเริ่มปลูก
6. การตัดแต่งกิ่งไม้ประดู่โดยทั่วไปจะลิดกิ่งเมื่ออายุ 5 ปี เพื่อช่วยให้ลำต้นเปลาตรงการลิดกิ่งไม่ควรสูงเกิน 10 เมตร เพราะจะทำได้ลำบาก วิธีลิดกิ่งจะใช้บันไดปีนขึ้นไปแล้วเลื่อยกิ่งด้วยเลื่อยมือติดลำต้นและอย่าให้มีแผลฉีกขาด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ต้นประดู่
7. การตัดสางขยายระยะ จะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโตของขนาดลำต้น คือเริ่มแรก ปลูกระยะแคบเพื่อบังคับให้ลำต้นเจริญเติบโคทางความสูงและเปลาตรง เมื่อเห็นว่า ต้นประดู่เบียดชิดกันมากจะตัดสางขยายระยะระหว่างต้นออกซึ่งกระทำเมื่ออายุ 10 ปี โดยตัดต้นเว้นต้น ครั้งต่อไปก็อาจจะทำตามความเหมาะสม หรืออาจจะเลือกตัดต้นที่มีลักษณะไม่ดีออกก็ได้

- รากใช้แก้ไข้ บำรุงโลหิต คุมธาตุ แก้เสมหะ แก่นใช้บำรุงโลหิต แก้พิษเบื่อเมา แก้คุดทะราด แก้ผื่นคัน แก้ปัสสาวะพิการ แก้กษัย
- เปลือกใช้สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย
- ใบ ใช้พอกแผล พอกฝีให้สุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน
- ยาง แก้โรคท้องเสีย โรคปากเปื่อย ปากแห้งแตกระแหง

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
49 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-298-5636
E-mail : green_area@dcce.mail.go.th
Copyright 2017 greenarea . All right reserved.